
ประโยชน์ของภาพถ่ายดาวเทียม
1. ด้านป่าไม้ ใช้ในการศึกษาจำแนกชนิดของป่าไม้ประเภทต่างๆ การประเมินหาพื้นที่ไฟป่า และติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง
2. ด้านการเกษตร ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ การพยากรณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและจากศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
3. ด้านการใช้ที่ดิน ใช้ในการทำแผนที่การใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินที่ทันสมัยและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม
4. ด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน ใช้ในการศึกษาลักษณะภูมิประเทศและธรณีสันฐานของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บอกถึงแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติตลอดจนแหล่งน้ำบาดาล และการวางแผนการสร้างเขื่อน เป็นต้น
5. ด้านอุทกวิทยา และการจัดการทรัพยากรน้ำ ใช้เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำและเขื่อน การศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนในอ่างน้ำเพื่อการบำรุงรักษาเขื่อน การทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสียหายจากอุทกภัย การวางแผนป้องกันน้ำท่วม ใช้ในการประเมินวิเคราะห์พื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งการวางแผนการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ
6. ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง ใช้เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของตะกอน พื้นที่หาดเลนและทรัพยากรชายฝั่ง การทำแผนที่เพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
7. ด้านการทำแผนที่ ใช้ในการปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศให้ถูกต้องและทันสมัย การทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางคมนาคม แผนที่ผังเมือง เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ
8. ด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้ในการประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และวางแผนเพื่อลดการสูญเสียจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ในการติดตามการแพร่กระจายของตะกอนจากการทำเหมืองแร่ในทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น
9. ด้านการวางผังเมืองและการขยายเมือง ใช้ในการติดตามการขยายตัวเมืองของแหล่งชุมชนเพื่อการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค ที่เหมาะสม
10. ด้านความมั่นคงของชาติ ใช้ในการถ่ายภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ เช่น ใช้ในการตรวจจับการปลูกพืชเสพติดได้ เป็นต้น
อ้างอิงเนื้อหา ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย.2552
1. ด้านป่าไม้ ใช้ในการศึกษาจำแนกชนิดของป่าไม้ประเภทต่างๆ การประเมินหาพื้นที่ไฟป่า และติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง
2. ด้านการเกษตร ใช้ในการศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ การพยากรณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติและจากศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
3. ด้านการใช้ที่ดิน ใช้ในการทำแผนที่การใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดินที่ทันสมัยและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม
4. ด้านธรณีวิทยา และธรณีสัณฐาน ใช้ในการศึกษาลักษณะภูมิประเทศและธรณีสันฐานของประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่บอกถึงแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติตลอดจนแหล่งน้ำบาดาล และการวางแผนการสร้างเขื่อน เป็นต้น
5. ด้านอุทกวิทยา และการจัดการทรัพยากรน้ำ ใช้เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำและเขื่อน การศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนในอ่างน้ำเพื่อการบำรุงรักษาเขื่อน การทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อประเมินความเสียหายจากอุทกภัย การวางแผนป้องกันน้ำท่วม ใช้ในการประเมินวิเคราะห์พื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งการวางแผนการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ
6. ด้านสมุทรศาสตร์และทรัพยากรชายฝั่ง ใช้เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของตะกอน พื้นที่หาดเลนและทรัพยากรชายฝั่ง การทำแผนที่เพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
7. ด้านการทำแผนที่ ใช้ในการปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศให้ถูกต้องและทันสมัย การทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เส้นทางคมนาคม แผนที่ผังเมือง เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ
8. ด้านภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้ในการประเมินความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และวางแผนเพื่อลดการสูญเสียจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ด้านสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ในการติดตามการแพร่กระจายของตะกอนจากการทำเหมืองแร่ในทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น
9. ด้านการวางผังเมืองและการขยายเมือง ใช้ในการติดตามการขยายตัวเมืองของแหล่งชุมชนเพื่อการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค ที่เหมาะสม
10. ด้านความมั่นคงของชาติ ใช้ในการถ่ายภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงของประเทศ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ เช่น ใช้ในการตรวจจับการปลูกพืชเสพติดได้ เป็นต้น
อ้างอิงเนื้อหา ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย.2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น